Lao Investment
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 โอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจใน สปป.ลาว : กฏหมายส่งเสริมการลงทุนปี 2552 และปีการท่องเที่ยวลาว 2555

นักลงทุนหลายท่านอาจจะเคยได้รับข้อมูลหลายๆ อย่าง (ที่บอกเล่าต่อๆ กันมา โดยไม่มีการตรวจสอบคัดกรองข้อเท็จจริง) ในเรื่องการจะไปลงทุนที่ลาวนั้น ว่า มีความยุ่งยาก มีระเบียบขั้นตอนต่างๆ มากมาย ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน หรือข้อความต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า การลงทุนที่ลาวนี้มีความยากลำบากจริงๆ ไม่ไปลงทุนที่ลาวดีกว่า ไปลงทุนประเทศอื่นดีกว่า หรืออะไรต่างๆ นาๆ ทำนองนี้ ซึ่งเห็นได้ว่า นักลงทุนหลายท่านอาจยังไม่ได้รับข้อมูลข้อเท็จจริงที่ครบถ้วน ได้รับแต่ไม่เพียงพอ ไม่ชัดเจน สำหรับการตัดสินใจที่จะไปลงทุนในประเทศลาว 

รัฐบาล สปป.ลาว ได้ออกกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างประเทศ (Law on the Promotion of Foreign Investment in the Lao People’s Democratic Republic) ฉบับใหม่ล่าสุดปี 2552 Foreign Investment มีข้อมูลรายละเอียดและสิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับผู้ที่จะไปลงทุนใน สปป.ลาว ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ มากมายมีความสะดวกสบายขึ้น ยกเว้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือส่งผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ หรือขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ

รูปแบบของการลงทุนจากต่างประเทศมี 2 รูปแบบ คือ การร่วมลงทุนกับนักลงทุนลาว (Joint Venture) โดยนักลงทุนต่างชาติต้องมีสัดส่วนการลงทุนอย่างน้อยที่สุด ร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด และการลงทุน 100% (100% Foreign Owned Enterprise) โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการลงทุนใน 7 สาขาที่สำคัญ คือ
                  1. การลงทุนผลิตเพื่อส่งออก
                  2. การลงทุนด้านกสิกรรมและป่าไม้ เกษตรตสหกรรม การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ หัตถกรรม
                  3. การลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย การศึกษา วิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อ  การพัฒนา และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ
                  4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการสาธารณสุข
                  5. การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                  6. การลงทุนผลิตวัตถุดิบ ชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรม
                  7. การลงทุนพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและบริการ

กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของต่างประเทศ ได้กำหนดพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนเป็น 3 โซน (3 promoted zones) ขึ้นกับสภาพภูมิประเทศ และเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ-สังคม โดยแต่ละโซนก็จะมีสิทธิประโยชน์ด้านระยะเวลาในการยกเว้นภาษีและสิทธิพิเศษอื่นๆ แตกต่างกันเป็นสิ่งจูงใจสำหรับนักลงทุน ซึ่งโซน 1 สภาพื้นที่ราบสูงยังขาดระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน จะได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าทุกโซน โซน 2 ผู้ลงทุนจำเป็นต้องขยายระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีอยู่แล้วเพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์รองลงมา และโซน 3 เป็นพื้นที่ที่มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์น้อยกว่าสองโซนแรก

สำหรับนักลงทุนที่จะไปลงทุนใน สปป.ลาว สามารถติดต่อขอแบบฟอร์ม ณ One Stop Service ที่ Committee for Promotion and Management of Investment (CPMI) ก็จะได้รับการอำนวยความสะดวก โดยจะต้องเตรียมเอกสารแนบไปด้วย คือ สำเนาหนังสือเดินทาง พร้อมประวัติของผู้ลงทุน รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหรือแผนธุรกิจ หนังสือสัญญาร่วมทุน กรณีร่วมทุน ในการขอแบบฟอร์มการลงทุนนี้สามารถขอได้ที่ส่วนกลาง หรือที่แขวงต่างๆ ได้เช่นกัน 

เห็นได้ว่าทาง สปป.ลาว มีระเบียบ พิธีปฏิบัติฯ ที่ชัดเจน ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสามารถที่จะสอบถามข้อมูลและขอรับการอำนวยความสะดวกกับทางการเจ้าหน้าที่ลาวทั้งส่วนกลาง และที่แขวงฯ ต่างๆ ได้โดยตรง นางทัมมา เพ็ดวิไช รองอธิบดีกรมส่งเสริมการลงทุน กระทรวงแผนการและการลงทุน กล่าวในงานโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว กระทรงต่างประเทศ ถนน ศรีอธุทยา กทม.เมือ 9 ก.ย 53 ท่านยังได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การจะมาลงทุนในแขวงฯ ขอให้ผ่านแผนกแผนการค้าและการลงทุนฯ ให้ถูกต้องตามระเบียบ โดยผู้ที่จะมาลงทุนขอให้เป็นเจ้าของที่แท้จริง ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการลงทุนสามารถนำกลับประเทศได้ ที่ผ่านมาหลายๆ กรณีที่มีปัญหาร้องเรียน หรือฟ้องร้องกัน เนื่องจากผู้ลงทุนนั้นไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอน บางครั้งใช้ผู้แทนที่ไม่มีอำนาจมาดำเนินการ หรือเคยทำเรื่องขอใบอนุญาตการลงทุนแล้วไม่ได้ไปลงทุนดำเนินการตามที่ขออนุญาต ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการลงทุนในลาว 

ในอนาคตนับต่อจากนี้ไป สปป.ลาว ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนนานาชาติเข้ามาลงทุน สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน คงต้องอาศัยความได้เปรียบจุดนี้ที่จะเป็นผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมลงทุนใน สปป.ลาว โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงคือการลงทุนที่สานประโยชน์ร่วมกันที่จะขยายไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนต่อไป 

สิทธิในการเช่าที่ดินของนักลงทุนต่างชาติ
นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดินประกอบกิจการในลาวได้ตามระยะเวลา 30 ปี 50 ปี หรือ 99 ปี โดยขออนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจในการให้สัมปทานที่ดิน กล่าวคือ ตั้งแต่ 1-3 เฮกตาร์ – แผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวง/3-100 เฮกตาร์ – กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้/100-10,000 เฮกตาร์ – รัฐบาลลาว/10,000 เฮกตาร์ขึ้นไป – สภาแห่งชาติ 

 การเช่าพื้นที่ทำเกษตร                                                                                                                                 โดยนักลงทุนต้องเข้าไปสำรวจพื้นที่เองเสี่ยก่อนหรือให้ บริษัทฯ หรือบุคคล นักลงทุนท้องถิ่น ที่มีความชำนายในท่องถิ่นเป็นผู้ประสารทางแขวงให้ ซึ่งจะมี 2 วิธีคือ (1) การขอเช่าที่ดินจากทางรัฐบาลลาว โดยต้องติดต่อผ่านแขวงที่สนใจจะเข้าไปทำ Contact Farming ในกรณีที่จะขอสัมปทานพื้นที่ไม่เกิน 600 ไร่หรือติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของลาว หรือที่เรียกว่า DDFI (Department of Domestic and Foreign Investment) ในกรณีที่ต้องการขอสัมปทานพื้นที่มากกว่า 600 ไร่ ซึ่งพื้นที่ของรัฐบาลส่วนใหญ่จะอยู่ไกลและไม่มีสาธารณูปโภค และ (2) การขอเช่าที่ดินจากเอกชนเจ้าของที่ดิน โดยถ้าในรูปแบบนี้จะต้องขอส่งเสริมการลงทุนในลักษณะให้คนลาวเจ้าของที่ดินเป็นผู้ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนให้

เมื่อได้พื้นที่แล้ว ต่อมาคือต้องจัดตั้ง บริษัท โดยทางแขวงสามารถรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่มีเงิน  ลงทุนไม่เกิน 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ยกเว้น) แขวงจำปาสัก หลวงพระบาง นครเวียงจันทน์ แขวงสะหวัณนะเขต สามารถอนุมัติเงินลงทุนได้ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถ้าเกินกว่านี้ต้องติดต่อ DDFI สำนักงานใหญ่ ณ นครหลวงเวียงจันทน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 16,452 Today: 3 PageView/Month: 16

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...